วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

‘การเดินของแมลงสาป’ สู่ ‘หุ่นยนต์ไต่ผนัง’

หุ่น ยนต์ในอนาคตอาจจะขึ้นไปเดินเล่นบนผนัง เพดาน และทุกซอกทุกมุมที่หุ่นยนต์สามารถไต่ไปถึง และต้องขอบคุณ “แมลงสาป” เจ้าของแรงบันดาลใจ “ไต่ได้ทุกที่ ทุกเวลา”นายวอลเตอร์ เฟดเดอร์ลี และนายคริสโตเฟอร์ คลีเมนต์ นักสัตวศาสตร์จากยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ เคมบริดจ์ ทำการศึกษาชีวิตของแมลงสาปที่สามารถไต่ไปได้ทุกที่โดยไม่สนใจแรงโน้มถ่วง ของโลกว่าจะมีมากมายเพียงใด และพบว่า เหตุที่แมลงสาปเกาะพื้นผิวได้ดีเป็นเพราะที่เท้าของมันมีแผ่นเล็กๆ 2 แผ่น ทำให้สามารถยกเท้าขึ้น-ลงเคลื่อนไหวไปได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นมุมฉาก มุมเอียงแผ่นเล็กๆ บนเท้าแมลงสาปมีลักษณะนุ่มเหมือนหมอนรองก้น และเคลือบด้วยน้ำมันและน้ำบางๆ อีกที ซึ่งน้ำและน้ำมันนี้มีส่วนประกอบของอะไรนั้น นักสัตวศาสตร์ยังตอบไม่ได้ แต่น้ำมันที่เคลือบทำหน้าที่เหมือนกับหยดน้ำที่อยู่ระหว่างจาน 2 ใบ ทำให้จานติดกันแน่นผิดปกติ ลักษณะการทำงานของแผ่นบนเท้าแมลงสาปก็คือ มันจะยึดติดเมื่อแมลงสาปยกขาขึ้นหาตัว และกลไกนี้จะปลดออกเมื่อมันยกขาลง การเดินบนพื้นผิวตั้งต้องมีทั้ง “แรงดึง” และ “แรงผลัก” ถ้าปราศจาก 2 สิ่งนี้แล้ว แมลงจะลื่นไถลเฟดเดอร์ลีและคลีเมนต์พบความลับนี้จากการตัดขาแมลงสาปออกมาและนำไปแช่ไว้ใน ช่องฟรีซ และพินิจพิเคราะห์แผ่นที่เท้าขนาดจิ๋วคือเพียงครึ่งมิลลิเมตรด้วยกล้องอี เล็กตรอนไมโครสโคป จากนั้นจึงดูลักษณะการเคลื่อนไหวของแมลงสาปเป็นๆ โดยใช้กล้องความเร็วสูงถ่ายภาพเอาไว้ด้วยพบว่า แผ่นเท้าหน้าทำหน้าที่คล้ายกับนิ้วหัวแม่โป้ง เรียกว่า “อโรเลีย” มีหน้าที่ “ดึงขึ้น” ส่วนแผ่นเท้าด้านหลังมีหน้าที่คล้ายกับส้นเท้า [...]  See More..

บทความที่ได้รับความนิยม